“Hello SunCotton ที่บริษัทสนใจผ้าสีขาวทำเสื้อเชิ้ตยูนิฟอร์ม แนะนำหน่อยครับ”
SunCotton ตอบ: โอ่ .. คำถามก้วางมากเลยครับ
ก่อนเริ่มต้นที่ ความต้องการของท่าน ผมขออธิบายเรื่องผ้าของ SunCotton
ที่ร้านเน้นขาย ผ้าที่ใส่สบาย ใส่ได้ทุกวัน ดูสุภาพ เรียบหรู ใส่ไปไหนก็ได้
ไปทำงานก็ดูดีไม่แพ้เจ้านาย *
ไปปารตี้ก็ดูมีระดับ *
( * แล้วแต่แบบนะครับ ถ้าเรียบๆ งานเนียบๆ = ใช่เลย )
ขยายความอีกนิดนะครับ
ที่เน้น ใส่สบาย แปลว่าเน้นขายผ้าที่มีส่วนผสมของใยธรรมชาติให้มีเปอร์เซ็นต์สูงๆ
SunCotton มีผ้าให้เลือกเยอะ
- คอตต้อน100%
- คอตต้อน78% โพลีเอสเตอร์22%
- คอตต้อน67% โพลีเอสเตอร์33%
- คอตต้อน63% โพลีเอสเตอร์37%
ซึ่งทุกตัวถูกออกแบบสเปค ให้ความรู้สึกเหมือนเราใส่ผ้า ค็อตต้อน100%
และใช้สเปคเส้นด้ายที่เรียบ เนียน หรูที่สุดในเกรด บนๆกลางๆ
เป็นผ้าทอตัดเสื้อเชิ้ตทั้งหมดนะครับ – ไม่ใช่ผ้าทำเสื้อยืด
ถ้าเทียบร้านทั่วไป ส่วนมากเขาจะมีผ้าผสมให้เลือกตามนี้
- โพลีเอสเตอร์80% คอตต้อน20% – เรียกว่า TC80/20
- โพลีเอสเตอร์65% คอตต้อน35% – เรียกว่า TC65/35
หรือว่าถ้าหรู่หน่อยก็ - โพลีเอสเตอร์50% คอตต้อน50% – เรียกว่า CVC50/50
ขยายความเรื่อง ซื่อ:
- Cotton ก็คือ ค็อตต้อน ผ้าที่ทำจากฝ้ายคอตตอน
- CVC เป็นชื่อย่อ ความหมายเดิมไม่เกี่ยวกับผ้าปัจจุบัน แต่สำคัญว่า ส่นผสมของ ค็อตต้อน จะเกิน 50%
- TC เป็นชื่อย่อ ส่นผสมของ ค็อตต้อน จะน้อย
กลับมาที่ความต้องการของท่าน
อยุ่ที่ความชอบนะครับ
ผ้าของ SunCotton
ใส่สบาย
ไม่ร้อน ไม่หนาว – ใส่แล้วไม่ทำให้กลิ่นส่วนตัวแพร่แรงเกินความเป็นจริง
** นอกเรื่อง เคยมั้ยครับ เดินผ่านผนักกงานบริษัทที่ใช้ยูนิฟอร์มผ้าโพลีเอสเตอร์ แลัวต้องกลั้นหายใจ เพราะคิดว่า “มันจะเหม็นอะไรขนาดนี้ ไม่อยากใช้บริการบริษัทนี้อีกเลย” ผนักงานเขาไม่รู้หรอก ว่าจริงๆตัวเขาไม่เหม็นแรงขนาดนี้ แต่การที่เจ้าของบริษัทเน้นประหยัด ให้ลูกน้องใส่เสื้อผ้าที่มีส่นผสมของโพลีเอสเตอร์สูงๆ ทำให้ตัวเขาอับ แบคทีเรียขยายเร็วและทำให้เร่งผลิตกลิ่นเหม็นแรง ประหยัดค้าผ้าไปแต่มาเสียความรู้สึกลูกค้า ไม่คุ้ม
โพลีเอสเตอร์ ก็มีดีนะ มันคือใยปิโตรเคมีที่ทำให้ผ้ายับยาก ดูแลง่าย
แต่ควรใช้ให้น้อยๆหน่อย
ที่ร้านคิดว่าเสื้อยับนิดนึงก็ดูดี เหมือนใส่สบาย มีระดับ ไอเดียเดียวกับลีนิน
เรามาใช้ผ้าระดับ ดีๆแบบ Upper-Middle ที่ใส่ได้ทุกวันแบบไม่ต้องแพงจัด แต่ให้ความสำคัญกับ Styling และ Fitting ดีกว่า
เนื้อผ้ามีให้เลือกแบบ
- แบบบางสำหรับตีเกล็ด หรือว่าใส่ทรงหลวมๆ oversize # 6098
- Basic เรียบๆ เนียนๆ Poplin # 4072 & 5044
- มีโครงสร้างขึ้นมาหน่อย จับแล้วรู้สึกว่ามีเนื้อ
- Twill # 4321 , cvc 6336
- Oxford # 4250, cvc 6733, cvc 3234
- Dobby ผ้าลายในตัว # 4343
- น้ำหนัก บาง กลาง ไปถึง หนา
- ยับระดับธรรมดา – Cotton 100%
- ยับน้อยลง
- Cotton 100% เพิ่มเคมีกันยับ
- # 4072 , 4343 , 4321
- Cotton ผสม ใช้ใยโพลีเอสเตอร์ช่วยลดการยับ
- # cvc 6733 oxford, cvc 3234 oxford, cvc 6336 twill
- Cotton 100% เพิ่มเคมีกันยับ
Styling และ Fitting จะแล้วแต่ท่านเลยครับ
เราแนะนำได้ว่าถ้าจะทำเสื้อผ้าแบบ
- ลำลอง
- ใช้เส้นด้ายเย็บเสื้อแบบหนาๆ
- ความยาวเสื้ออาจจะสั้นหน่อยจะได้ไม่ต้องเหน็บในกางเกง
- ทางการ
- ใช้เส้นด้ายเย็บเสื้อแบบเล็กๆเนียนๆ เย็บจำนวนฝีเข็มต่อนิ้วเยอะหน่อย
- ทรงหลวม
- ใช้ผ้าที่บางหน่อยได้
- ทรงฟิต
- ใช้ผ้าที่มีเนื้อ น้ำหนักสูงหน่อย หรือว่าผ้าบางที่สีเข้ม
ทางผมเอง ชอบเนื้อผ้าของทางร้านหมดเลย
และภูมิใจที่จะใส่ทุกรายการ เพราะออกแบบสเปคเองให้เน้นใส่ดี ดูดีจริง
แต่ละรายการจะมีข้อดีข้อเด่นต่างกันนิดๆ
ทางท่านอาจจะเลือก รายการที่เหมาะกับงบประมาณ
สั่งซื้อ รายการละ 2 หลาขึ้นแบบดูก่อน
ผมมั่นใจว่าจะติดใจ
การถ่ายรูปผ้าขาวเป็นอะไรที่ยากมาก











อย่าว่าแต่รูปเลย การผลิตผ้าขาวก็ยากมาก
แต่ละล็อตที่ออกมาจากโรงย้อม จะมีความแตกต่างไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็ ขาว เดี๋ยวก็ครามไปนิด เขียวไปนิด เหลืองไปนิด
วิธีแก้มีวิธีเดียวครับ = ยอมรับ 😀
- เลือกผ้าที่ผลิตออกมาแล้ว
- ดูชิ้นผ้าจากล็อตจริง ว่า OK มั้ย
- จดเบอร์ Lot ด้วยนะครับ
- สีผ้าขาว ดูในไฟบ่าน หรือ ดูน้อกบ้านในแสงแดด หรือในที่ร่ม ดูแล้วจะไม่เหมือน อาจจะคิดว่าผ้าคนละตัวเลย
- ยิ่งถ้าดูในอ็อฟฟิศ แต่กระจกมีฟิล์มกรองแสง – สีจะดูต่างกันเลย
- ให้ตั้งมาตรฐานไว้ว่าเราจะใช่แสงแบบไหนดูเป็นหลัก
- ที่ร้าน SunCotton จะดูหมด ทั้งในร้าน และนอกบ้านใช้แสงธรรมชาติ
- ห้ามๆๆๆใช้ผ้าจากคนละล็อกมาตัดรวมกันนะครับ
- ให้แยกตัด
และ
ขอบอก
ผ้าจริงสวยกว่าในรูปเยอะเลยครับ
ไว้จะถ่ายแบบใช้แสงไฟสตูดีโอแล้วลงใหม่ หรือว่าถ่ายเป็นวิดิโอให้ดู
สนใจดูตัวอย่างผ้า
- สามารถสั้งชุดดูเนื้อผ้า ขนาด A4 – 5 ชิ้น (คิด 100 บ รวมค่าส่ง+แถมถุงผ้าให้) – ทักไลน์ได้เลยครับ @SunCotton
- ถ้าชอบเนื้อไดเนื้อหนึ่งแล้ว ก็สามารถสั่งผ้า 2 หลาสำหรับขึ้นตัวอย่างได้เลยนะครับ